วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่2
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2560



      ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอน ครั้งแรกของรายวิชานี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำชีท ที่อาจารย์แจกมาเพื่อเรียน แจกใบรายวิชา และแจกใบปั้มการมาเรียน



      อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมในเรื่องของเด็กพิเศษ

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
(Children with special needs) 

เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
(Early Childhood with special needs)

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.ทางการแพทย์
มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ"
=เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2 ทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง
=เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
อาจสรุปได้ว่า
-เด็กที่แตกต่าง
-เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนปกติ (ถ้ามีคนช่วยเหลือก็สามารถพัฒนาได้)
-มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
-จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
คำศัพท์
All Children Can Learn
เด็กทุกคนสามารถเรียนมาก
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ
-การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
-ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
-พัฒนาการล่าช้าในด้านใดด้านหนึ่ง อาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ(ร่างกาย)
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด(ตอนอยู่ในครรภ์)
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด(ระหว่างคลอด)
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด (ครอบครัวส่งผลมาก)

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1.พันธุกรรม
เลี่ยงไม่ได้
-เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
โรคปากแหว่งเพดานโหว่ Cleft/Cleft Palate 


จะมีปัญหาด้านการพูดหากไม่รักษาแต่กำเนิด
รักษาด้วยการผ่าตัดและการเย็บ
ควรรักษาตั้งแต่ทารก ถ้ารักษาล่าช้าปากจะเบี้ยวได้
โรคผิวเผือกAlbinism
ตัวขาว ตาออกสีแดง
เกิดจากไม่มีเม็ดสี
ไม่มีเม็ดสีเมลานิน ทำให้ไม่มีสารป้องกันผิวหนังจากแสงแดด
แสบเมื่อโดนแสง
เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง

โรคท้าวแสนปมNeurofibromatosis .

อาการจะมีตุ่มขึ้นทุกที่ตามผิวหนัง ยิ่งอายุมากตุ่มยิ่งเยอะ ตุ่มจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บ รักษาได้แต่ไม่หาย
การสังเกตอาการ
1.ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง
2.พบก้อนเนื้อตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป
3.พบกระที่รักแร้ หรือขาหนีบ
4.พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา
5.พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป
6.พบความผิดปกติของกระดูก
7.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้

โรคธารัสซีเมีย

เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
สังเกตจาก
-ซีด
-ตัวเหลือง ตาเหลือง
-ตับโต ม้ามโต
-แคระแกรน
-หน้าตาอาจเปลี่ยนแปลง
-จมูกแบน ฝันเหยิน ท้องป่อง
-ร่างกายเติบโตช้ากว่าปกติ
-กระดูกเปราะง่าย
เวลาเหนื่อนจะเป็นลม

2.โรคของระบบประสาท
-เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการทางระบบประสาทร่วมด้วย
-ที่พบบ่อยคืออาการชัก
*เกิดจากการทำงานของเส้นประสาทส่งกระแสประสาทผิดปกติ

3.การติดเชื้อ
-การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามไต การได้ยินบกพร่อว ต้อกระจก
-นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง

4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม(ระบบฮอร์โมน)
-โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมน ในเลือดต่ำ
อาการ
-หนาวง่าย
-เหนื่อยง่าย
-ผิวหนังแห้ง ลอกง่าย
-ผมแห้ง
-ซึม ขี้หลงขี้ลืม
-ท้องผูก
*รักษาได้แต่ไม่หายขาด ต้องมารับยาสม่ำเสมอ

5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
-การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
เช่น คลอดก่อนกำหนด
รกพันคอ
ดูดน้ำคล่ำออกจากจมูกไม่ทัน


6.สารเคมี


-ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
-มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
-ภาวะตับเป็นพิษ
-ระดับสติปัญญาต่ำ


-น้ำหนักแรกเกิดน้อย ตัวเล็ก
-มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
-พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
-เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

โรคFetal alcohol syndrome ,FAS
-ช่องตาสั้น  
-ร่องริมฝีปากบนเรียบ
-ริมฝีปากบนยาวและบาง  
-หนังคลุมหัวตามาก
-จมูกแบน 
-ปลายจมูกเชิดขึ้น



-น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
-เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
-สติปัญญาบกพร่อง 
-สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม


7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร

8. สาเหตุอื่นๆ (อุบัติเหตุ)

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
-ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป
แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป 


การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
-แบบทดสอบ Denver II 
-Gesell Drawing Test 


-แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล 

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปเป็นข้อมูลในการศึกษาเรื่องของเด็กพิเศษเพิ่มขึ้น เพราะในอนาคตข้างหน้าหากเป็นครูเรา เราอาจจะต้องมีโอกาสจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นเด็กพิเศษหรือเปล่า เพื่อจะได้จัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ


การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจเรียนดีมาก มีชีทมาเรียน จดทุกครั้งที่อาจารย์ได้สอน มีความเข้าใจและสนุกไปกับการเรียน
เพื่อน-มาเรียนตรงต่อเวลา เรียบร้อย ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยเล่นกัน
อาจารย์-ตรงต่อเวลา แต่งกายเหมาะสม มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น