วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 17

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 18 
วันศุกร์ ที 5 พฤษภาคม 2560

สอบปลายภาค

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 17

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 17
วันศุกร์ ที28 เมษายน 2560

ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไม่สบายค่ะ


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16 
วันศุกร์ ที21 เมษายน 2560

ไม่มีการเรียนการสอน


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่15

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่15
วันศุกร์ ที 14 เมษายน 2560

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากปิดวันสงกรานต์


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่14

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่14
วันศุกร์ ที 7 เมษายน พ.ศ.2560

ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ..


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 
วันศุกร์ ที 31 มีนาคม 2560


ไม่มีการเรียนการสอน



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่12

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่12
วันศุกร์ ที 24 มีนาคม 2560

อาจารย์แจกคะแนนสอบกลางภาค จากนั้นนำเข้าสู่บทเรียน



 การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
เกิดผลดีในระยะยาว 
เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน


2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)


3. การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
การฝังเข็ม (Acupuncture)
การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)





"การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)"
การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
เครื่องโอภา (Communication Devices) 
โปรแกรมปราศรัย

บทบาทของครู
ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน







จากนั้นให้นศวาดมือของตนเองโดยไม่ดู แล้วให้เพื่อนๆทายว่าเป็นมือของใคร

ผลออกมาคือเพื่อนๆส่วนใหญ่ทายถูกเพราะสังเกตจากท่าทางของเพื่อนๆเมื่อถามว่าแผ่นนี้เป็นของใคร







การนำไปประยุกต์ใช้
-สามรถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษที่ต้องมีการเขียนแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กได้
-ในการวาดมือฝึกการสังเกตสิ่งใกล้ตัว ที่อยู่กับเรามานาน สามารถประยุกต์ใช้ได้คือการเป็นครูต้องสังเกตเด็กให้มาก จดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของเด็กให้ได้

การประเมิน
ตนเอง-เข้าใจในการสอนของอาจารย์ ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ
เพื่อน-ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย มีความร่วมมือการทำกิจกรรม
อาจารย์-แต่งกายเหมาะสม สุภาพ สอนได้เข้าใจ มีเทคนิกการสอนที่ดีมาก มีการให้นศ มีส่วนร่วมในการเรียน ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่  11
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560

เนื้อหาการเรียนรู้


ในวันนี้เริ่มการเรียนทษฎีกันต่อ โดยอาจารย์ได้เปิดเรียนด้วยการพูดคุยผ่อนคลายความเครีดหัวข้อสนุกสนาน
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
     - การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
     - การศึกษาพิเศษ (Special Education)
    - การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
     - การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
     - การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
     - มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
     - ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
     - ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
     - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
     - เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
     - เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้




การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
     - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
     - เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
     - มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
     - เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์

 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
     - การศึกษาสำหรับทุกคน
     - รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
     - จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

 ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
     - ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
     - “สอนได้”
     - เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
1 ครูไม่ควรวินิจฉัย
2 ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
3 ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
4 ครูทำอะไรบ้าง
5 สังเกตอย่างมีระบบ
6 การตรวจสอบ
7 ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
8 การบันทึกการสังเกต



จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาดูภาพแล้ววาดลงในกระดาษ เพื่อนดูการสังเกตรายละเอียด อาจารย์เฉลยตอนท้ายว่าหากเราวาดได้เหมือนแบบใส่ใจรายละเอียดมากๆแสดงว่าเรานั้นเป็นคนที่ช่างสังเกต และใส่ใจในเรื่องต่างไๆ








มีตัวอย่างการเขียนบันทึกพฤติกรรมเด็ก โดยใส่ลูกเล่นโดยการนำรูปเพื่อนๆมาใส่
















การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปเป็นข้อมูลในการศึกษาเรื่องของเด็กพิเศษเพิ่มขึ้น
-รู้และเข้าใจถึงความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม-แบบเรียนรวมมากยิ่งขึ้น สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจที่เรียนไปปรับใช้ในการสอนเด็กอย่างถูกวิธี มีแนวทางในการจัดกิจกรรมบำบัดแลการจดบันทึกการสังเกต
-สามรถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษที่ต้องมีการเขียนแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กได้

การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ ตรงต่อเวลา
เพื่อน  เพื่อนในห้องตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียน
อาจารย์   อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในเนื้อหาบทเรียน และสื่อการสอนมาเป็นอย่างดี แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำ ผ่อนคลาย พูดคุยสนุกสนาน

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่  10
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560


เนื้อหาการเรียนรู้




ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
8.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
- ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
1.ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
2.ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
3.สมาธิสั้น (Attention Deficit)
     - มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้หยุกหยิกไปมา
     - พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
     - มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
4.การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
5.ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
- ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
     - ขาดเหตุผลในการคิด
     - อาการหลงผิด (Delusion)
     - อาการประสาทหลอน (Hallucination)
     - พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

สาเหตุการเกิด
- ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
- ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
- ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว
- เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders) เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ
     1.Inattentiveness (สมาธิสั้น)
     2.Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
     3.Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)

สาเหตุ
      ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
      ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
      พันธุกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ











โดยพฤติกรรมของเด็กอาจารย์ได้นำตัวอย่างน้องที่เป็นสามธิสั้นมาให้ดู และพูดคุยถึงปัญหาของน้อง


9.เด็กพิการซ้อน
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



การนำไปประยุกต์ใช้
-สามรถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษที่ต้องมีการเขียนแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กได้

การประเมิน
ตนเอง-เข้าใจในการสอนของอาจารย์
เพื่อน-ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย 
อาจารย์-แต่งกายเหมาะสม สุภาพ สอนได้เข้าใจ มีการให้นศ มีส่วนร่วมในการเรียน 

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่  9
วันศุกร์ที่ 03 มีนาคม 2560

เนื้อหาการเรียนรู้


เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ L.D.
     1 ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
     2 กรรมพันธุ์


1.ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
     - หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
     - อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
     - ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

2.ด้านการเขียน (Writing Disorder)
 - เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
     - เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
     - เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

3.ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
     - ตัวเลขผิดลำดับ
     - ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
     - ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
     - แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

4.หลายๆ ด้านร่วมกัน
- อาการที่มักเกิดร่วมกับ L.D.
     - แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
     - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
     - เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
     - งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
     - การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
     - สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
     - เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
     - ทำงานช้า

เด็กออทิสติก (Autistic)  หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
- ทักษะภาษา
- ทักษะทางสังคม
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
- ลักษณะของเด็กออทิสติก
     - อยู่ในโลกของตนเอง
     - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
     - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
     - ไม่ยอมพูด
     - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
ออทิสติกเทียม
- ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
     - ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
     - ดูการ์ตูนในทีวี

- Autistic Savant
     - กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
- กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)


การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปเป็นข้อมูลในการศึกษาเรื่องของเด็กพิเศษเพิ่มขึ้น เพราะในอนาคตข้างหน้าหากเป็นครูเรา เราอาจจะต้องมีโอกาสจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นเด็กพิเศษหรือเปล่า เพื่อจะได้จัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
-สามรถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษ

การประเมิน
ตนเอง-เข้าใจในการสอนของอาจารย์ ตั้งใจเรียน 
เพื่อน-ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก
อาจารย์-แต่งกายเหมาะสม สุภาพ สอนได้เข้าใจ มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้ไม่ง่วง แม้เป็นทฤษฎีแต่รู้สึกสนุกในการเรียน มีการให้นศ มีส่วนร่วมในการเรียน

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่  8
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่  7
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา.
ผู้อำนวนการแผนกอนุบาลโรงเรียนเกษมพิทยาและวิทยากร ท่าน ดร.วรนาท รักสกุลไทย 



การเรียนการสอนแบบ Project
 ในช่วงเดือนกันยายนและเดือนกุมภาพันธ์

ได้มาดูน้องๆในโรงเรียนทำกิจกรรมหน้าเสาธงกัน เริ่มต้นวันใหม่ด้วยความสนุกสนาน













จากนั้นนักศึกษาจับกลุ่ม แยกศึกษาพฤติกรรมของน้องๆเด็กพิเศษตามห้อง โดยกลุ่มดิฉันได้ศึกษาห้อง อนุบาล 2/1 ในช่วงนี้เด็กๆห้องอนุบาล2/1กำลังทำการเรียนโปรเจคเรื่อง "แมว"








น้องเด็กพิเศษที่มาศึกษาดูพฤติกรรมของน้องคือ น้องปราย



น้องปรายเป็นดาวน์ซินโดรม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน แต่จะมีท่าทีเขินอาย กับคนแปลกหน้า 
จากการสอบถามครูประจำชั้นครูบอกว่าน้องปรายรักเพื่อนๆ แต่ชอบแสดงออกรุนแรง อาจเพราะตัวที่ใหญ่กว่าเพื่อน แต่คุยกับเพื่อนๆดี

เวลาครูให้ทำอะไรน้องปรายก็จะทำ อย่างเช่นให้ระบายสีน้องแมว น้องปรายก็บอกพี่ๆว่า "หนูวาดแมว"
ซึ่งในเวลาทำกิจกรรมครูต้องคอยบอกน้องว่า วาดรูปนะคะ เพราะน้องก็จะไปสนใจอย่างอื่น